Recent Stories

รู้จัก SonicWall อุปกรณ์ป้องกันเครือข่ายที่องค์กรควรมี

ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรต่างจำเป็นต้องมีโซลูชันในการรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้เพื่อปกป้องข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร
 
SonicWall คือ ผู้นำด้านโซลูชันรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำระดับโลก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1991 ปัจจุบันมีลูกค้ามากกว่า 500,000 ราย ใน 215 ประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา SonicWall ได้มุ่งเน้นการพัฒนาโซลูชันเพื่อปกป้องข้อมูลเครือข่ายขององค์กรมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบ Network Security, Access Security, Email Security, Cloud Security และ Endpoint Security เพื่อให้ครอบคลุมสำหรับองค์กรทุกขนาด การันตีด้วยผลงานรวมถึงรางวัลด้านนวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย ทำให้ SonicWall เป็นที่รู้จักและเป็นยอมรับจากองค์กรชั้นนำทั่วโลกมากขึ้น

SonicWall Cyber Security

โดยในกลุ่มของ Cyber Security SonicWall ได้ออกแบบโซลูชันที่มีความหลากหลายและครอบคลุมดังนี้

  1. Next-Generation Firewall (NGFW)
    จัดอยู่ในกลุ่ม Network Security ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักในการป้องกันภัยคุกคามของเครือข่าย มีหน้าที่ในการป้องกันตรวจสอบภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ เช่น มัลแวร์ (Malware) แรนซัมแวร์ (Ransomware) รวมถึงภัยคุกคามประเภท Zero-Day และยังทำหน้าที่ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลภายในเครือข่ายของคุณจากภายนอก และป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในรั่วไหลออกไปภายนอกอีกด้วย 
  2. Zero Trust Network Access (ZTNA)
    มีชื่อว่า Secure Mobile Access จัดอยู่ในกลุ่ม Access Security รองรับการเชื่อมต่อระยะไกลด้วยการเข้ารหัสขั้นสูง ทำให้การสื่อสารระหว่างผู้ใช้และเครือข่ายองค์กรมีความปลอดภัยสูงสุด
  3. Endpoint Detection and Response (EDR)
    จัดอยู่ในกลุ่ม Endpoint Security มีชื่อว่า Capture Client เป็น Next-Generation Anti-Virus (NGAV) ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยี EDR จาก Sentinel One มาผสานรวมกับ Capture ATP เทคโนโลยีในการป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงจาก Sonicwall ยกระดับการตรวจจับภัยคุกคามที่มีความแม่นยำและละเอียดมากยิ่งขึ้น

ฟังก์ชันหลักที่โดดเด่นของ SonicWall

  1. การป้องกันภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการตรวจจับและตอบโต้ภัยคุกคามได้ทันท่วงที สร้างความมั่นใจในความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง
  2. การบริหารจัดการที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ช่วยให้ผู้ดูแลระบบควบคุมและจัดการเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. การวิเคราะห์และรายงานผลเชิงลึก ฟังก์ชันการรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่ครอบคลุม ช่วยให้ผู้ดูแลระบบเข้าใจสถานะความปลอดภัยของเครือข่ายได้อย่างลึกซึ้ง
Capture ATP (RTDMI) Malware Sandbox
 

จุดเด่นที่เหนือชั้น

  • SonicWall มีเทคโนโลยี Capture ATP (RTDMI) Malware Sandbox ระบบแซนด์บ็อกซ์ที่ใช้ตรวจสอบไฟล์ที่น่าสงสัย โดยการนำไฟล์ไปวางไว้ในระบบแซนด์บ็อกซ์ พร้อมกับจำลองสภาพแวดล้อมให้เหมือนจริงมากที่สุดเพื่อคอยจับสังเกตุพฤติกรรมที่น่าสงสัย ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับระบบเครือข่ายจริง พร้อมทั้งทำหน้าที่ในการอัพเดตฐานข้อมูลไปยังอุปกรณ์ของ SonicWall โดยเทคโนโลยี Capture ATP นี้ มีอยู่ทั้งใน NGFW และ NGAV
  • การบูรณาการอย่างไร้รอยต่อ ทำงานร่วมกับระบบและอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ ได้อย่างกลมกลืน เสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันเครือข่ายโดยรวม
  • การป้องกันภัยคุกคามแบบ 360 องศา ไม่เพียงป้องกันภัยคุกคามที่รู้จักแต่ยังรับมือกับภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน (Zero-Day)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

การติดตั้งและบำรุงรักษาที่ไร้กังวล

SonicWall ออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการติดตั้งและใช้งานพร้อมคู่มือที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีระบบอัปเดตซอฟต์แวร์และการบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรทันสมัยและพร้อมรับมือกับภัยคุกคามอยู่เสมอ รวมทั้งทีม Support จาก Soft De'but ที่ยินดีพร้อมให้คำแนะนำและช่วยดำเนินการให้ท่านอย่างรวดเร็วที่สุด
 
SonicWall เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งในการปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามไซเบอร์ ด้วยโซลูชันที่ครอบคลุมและฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย SonicWall ช่วยให้องค์กรสามารถปกป้องข้อมูลและระบบสำคัญได้อย่างมั่นใจ พร้อมรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
 
หากลูกค้าที่มีความสนใจ SonicWall สามารถติดต่อได้ที่
บริษัท ซอฟท์เดบู จำกัด

02/12/2567
ทำไม DMARC ถึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กรในยุคดิจิทัล DMARC (Domain-based Message Authentication, Reporting & Conformance) เป็นโปรโตคอลที่ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องโดเมนของคุณจากการโจมตีทางอีเมล เช่น การปลอมแปลงอีเมล (Email Spoofing) ซึ่งมักใช้เพื่อส่งสแปมหรือฟิชชิ่ง DMARC ช่วยให้ผู้ส่งสามารถกำหนดนโยบายในการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของอีเมลที่ถูกส่งจากโดเมนของตน โดยใช้เทคนิคการยืนยันตัวตน เช่น SPF (Sender Policy Framework) และ DKIM (DomainKeys Identified Mail)
ดู 999 ครั้ง
29/11/2567
"เหนือกว่าในเรื่องของการป้องกัน" ทำไม Proofpoint จึงเป็นพาร์ทเนอร์ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้ามในปี 2024 ในโลกที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การป้องกันและความปลอดภัยทางไอทีไม่ใช่แค่เรื่องของการเพิ่มเติมคุณสมบัติหรืออัปเดตซอฟต์แวร์อีกต่อไป แต่เป็นการลงทุนที่จำเป็นสำหรับอนาคตขององค์กรทุกขนาด Proofpoint ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำ
ดู 999 ครั้ง
25/11/2567
แนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ 2018-2023 เมื่อค่าไถ่พุ่งสูงขึ้น 90% ใน 1 ปี แนวโน้มการโจมตีทางไซเบอร์ 2018-2023 เมื่อค่าไถ่พุ่งสูงขึ้น 90% ใน 1 ปี
ดู 999 ครั้ง